สัตว์มีกระดูกสันหลัง
สัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ
สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยัง ช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ
ปลา
ปลา (อังกฤษ: Fish, กรีก: Ichthys, ละติน: Pisces) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร ยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลามมาจากไก่
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย
ลักษณะทั่วไป
- ปลาไม่มีขากรรไกร (Agnatha) แบ่งเป็น แฮคฟิช พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมป์เพรย์ พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
- ปลากระดูกอ่อน (Cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาโรนัน, ปลาฉนาก, ปลากระเบน และปลาฉลาม พบในปัจจุบันประมาณ 400 ชนิด
- ปลากระดูกแข็ง (Bony fish) คือปลาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด
- ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fish) คือ ปลาที่มีครีบต่าง ๆ เป็นพู่หรือกลีบ ใช้ในการเคลื่อนไหวใต้น้ำเหมือนเดิน ได้แก่ ปลาซีลาแคนท์, ปลาปอด เป็นต้น
- ปลามีเกราะ (Armoured fish) เป็นปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถือเป็นบรรพบุรุษของปลาทั้งหมด ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว มีเกล็ดหนาหุ้มตลอดลำตัวเหมือนชุดเกราะ
ลักษณะทางกายวิภาค
ปลาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวร่างกายในน้ำด้วยครีบ โดยจะใช้ครีบบริเวณหลังและครีบบริเวณก้นสำหรับว่ายน้ำ ซึ่งปลาในชนิดต่าง ๆ อาจจะใช้ครีบบริเวณหูและครีบบริเวณก้นในการเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ปลาบางชนิดอาจจะใช้อวัยวะบางส่วนเช่น ครีบบริเวณท้อง เพื่อสำหรับทำหน้าที่ให้เหมือนกับเท้าของสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตีน เพื่อไว้สำหรับการเคลื่อนไหวไปมา สามารถปีนป่ายก้อนหินและรากไม้ได้อย่างอิสรเสรี ภาพโดยรวมแล้วอวัยวะต่าง ๆ ของปลาประกอบด้วย
|
|
วิวัฒนาการ
ปลาจัดได้ว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวกแรกที่ถือกำเนิดมาบนโลกและปัจจุบันก็ยังถือได้ว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายและจำนวนสมาชิกมากที่สุดในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้จัดประเภทของปลาได้เป็นชนิดแล้ว ในปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 25,000 ชนิด และยังมีชนิดใหม่ ๆ ที่ค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ทั้งจากน้ำจืดและทะเลปลาถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกสันหลัง เรียกว่า แอมฟิออกซัส และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว อาศัยและแหวกว่ายในทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์
จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงปรากฏมีปลากระดูกอ่อนเกิดขึ้นมา พร้อมกับวิวัฒนาการของปลากระดูกแข็งและปลาน้ำจืดต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน
แหล่งที่อยู่อาศัย
ปลาเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยอยู่ในน้ำเท่านั้น โดยพบได้ทั้งแหล่งน้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม แต่พบได้ในภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ลำธารเชิงเทือกเขาหิมาลัยที่สูงกว่า 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล, ในถ้ำที่มืดมิดไร้แสง จนถึงแม่น้ำ หนองบึงต่าง ๆ ทะเลสาบบนปากปล่องภูเขาไฟ จนมาถึงชายฝั่งทะเล ไหล่ทวีป จนถึงใต้ทะเลที่ลึกกว่าหมื่นเมตร แสงไม่อาจส่องไปได้ถึงซึ่งปลาจะปรับรูปร่างและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน เช่น ปลาอะโรวาน่า หรือปลาเสือพ่นน้ำ ที่เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ก็จะมีลักษณะปากที่เฉียงขึ้นด้านบนเพื่อถนัดในการจับแมลงเป็นอาหาร ขณะที่ปลากระเบน ซึ่งเป็นปลาหากินบริเวณพื้นน้ำ ก็จะมีปากอยู่บริเวณด้านล่างลำตัวจะมีฟันเป็นแบบแทะเล็ม หรือกลุ่มปลาทูน่า จะมีสีบริเวณหลังเป็นสีคล้ำ แต่ขณะที่ด้านท้องจะเป็นสีจางอ่อน เพื่อใช้สำหรับพรางตาเมื่อมองจากบนผิวน้ำและใต้น้ำให้พ้นจากนักล่า เป็นต้น
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
ปลาเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยใช้เนื้อเป็นอาหารหลัก มีหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ มากมาย ที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการจับหรือล่าปลาเป็นอาหาร เช่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ในจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย มีภาพเขียนสีที่เป็นรูปปลาบึก[1] [2]เนื้อปลายังถือได้ว่าเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ ด้วยอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างครบถ้วน เช่น เกลือแร่, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และวิตามินชนิดต่าง ๆ ทั้ง วิตามินดี, วิตามินเอ เป็นต้น อีกทั้งไขมันในเนื้อปลายังถือว่าเป็นไขมันที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เพราะเป็นกรดไขมันประเภท โอเมกา 3 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นโปรตีนที่ย่อยได้ง่าย จึงเหมาะมากโดยเฉพาะกับทารกและผู้สูงอายุ[3]
ความที่ปลาผูกพันกับมนุษย์มานาน จนเกิดเป็นประเพณีและความเชื่อในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ อาทิ ชาวอีสานหรือชาวลาวก่อนจะทำการล่าปลาบึกจะมีการทำพิธีบวงสรวงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์[1] หรือเป็นปกรณัมต่าง ๆ เช่น พระวิษณุที่อวตารเป็นปลากรายทองเพื่อทำการปราบทุกข์เข็ญ ในจักรวาลตามความเชื่อของพุทธศาสนา เชื่อว่าปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเพราะมีปลาใหญ่ที่หนุนโลกอยู่ขยับตัว คือ ปลาอานนท์ ซึ่งความเชื่อนี้คล้ายคลึงกับความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่เชื่อว่ามีปลาดุกขนาดใหญ่ ชื่อ นะมะสุ (鯰) เคลื่อนตัว เป็นต้น[4][5][6]
นอกจากนี้แล้ว ในทางการศึกษา ศาสตร์ที่เกี่ยวกับปลาโดยเฉพาะ จะเรียกว่า มีนวิทยา และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ประเภทนี้ว่า นักมีนวิทยา
ปลายังถือได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ถูกเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมาอย่างยาวนานแล้ว ตั้งแต่ยุคสุเมเรียน คือ ปลาไนที่เพาะเลี้ยงกันในบ่อ และยังมีการเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินใจด้วย ได้แก่ ปลาสวยงามชนิดต่าง ๆ เช่น ปลากัด, ปลาทอง, ปลาปอมปาดัวร์, ปลาการ์ตูน เป็นต้น
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกอย่างทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (อังกฤษ: Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ[1] สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม
ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและ ภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็น เช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชนิด
วิวัฒนาการของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวกแรกที่ขึ้นจากน้ำมาอยู่บนบก โดยวิวัฒนาการตัวเองมาจากปลาในยุคปลายดีโวเนียน (406 ล้านปีก่อน) ในปลาชั้น Sarcopterygii โดยเฉพาะปลาในชั้นย่อย Tetrapodomorpha ที่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์และวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์อย่างอื่นไปแล้ว ก่อนที่จะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลื้อยคลานต่อไปอันดับของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
- Anura หรือ อันดับกบ
กบในประเทศไทยใช้เนื้อในการรับประทานของมนุษย์เป็นอาหาร มีหลายชนิด ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อาทิ กบภูเขา (Limnonectes blythii) ซึ่งเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทยด้วย, อึ่งปากขวด (Glyphoglossus molossus), กบนา (Hoplobatrachus rugulosus) ซึ่งนิยมเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ปัจจุบันมีการค้นพบและอนุกรมวิธานแล้วกว่าเกือบ 4,800 ชนิด นับว่ามีความหลากหลายที่สุดของสัตว์ในชั้นนี้
- Caudata หรือ อันดับซาลาแมนเดอร์และนิวต์
ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ในประเทศไทยมีพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ กะท่าง หรือ จิ้งจกน้ำดอยอินทนนท์ (Tylototriton verrucosus) ซึ่งจะพบได้เฉพาะลำธารในเขตภูเขาสูงของภาคเหนือของประเทศเท่านั้น และต่อมาได้มีการค้นพบเพิ่มอีกที่แอ่งน้ำในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งตัวผู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีสีสันที่สดใสสวยงามมาก นอกจากนี้แล้ว สัตว์ในอันดับนี้ถือได้ว่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำทะเทินบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย คือ ซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน (Andrias davidianus) ที่อยู่ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Cryptobranchidae) เมื่อโตเต็มที่อาจมีความยาวได้ถึงเกือบ 2 เมตร อาศัยอยู่เฉพาะในลำธารน้ำที่ใสสะอาดแถบภาคกลางและภาคใต้ของป่าดิบชื้นในจีนเท่านั้น
อนึ่ง คำว่า "ซาลาแมนเดอร์" นั้น มีที่มาจากเทพปกรณัมกรีกคือ ตัวซาลาแมนเดอร์ ที่เป็นสัตว์ในตำนานที่เมื่ออยู่ในไฟก็ไม่ตาย ส่วนคำว่า "นิวต์" นั้นจะใช้เรียกซาลาแมนเดอร์ที่มีขนาดเล็ก เช่น กะท่าง เป็นต้น[8] ปัจจุบันมีการจำแนกและอนุกรมวิธานแล้วกว่า 580 ชนิด [9]
- Gymnophiona หรือ อันดับเขียดงู
อาศัยทั้งบนบก โพรงดิน ใต้กองใบไม้ หรือในน้ำ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานได้ 33 สกุล 174 ชนิด ใน 6 วงศ์ จำแนกโดยการใช้รูปร่างโครโมโซม และลักษณะทางโมเลกุล ในประเทศไทยพบได้ 4 ชนิด อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันทั้งหมด ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis)
สัตว์เลื้อยคลาน
สัตว์เลื้อยคลาน (อังกฤษ: Reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่ มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิต ในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิด[1] กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว
ในยุคจูแรคสิค (Jurassic period) ที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิค (Mesozoic era) ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด[2] มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กิน เนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรคสิคจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรคสิค เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ ชัดเจนและแน่นอน
การสูญพันธุ์และการปรับตัว
จากเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลกเมื่อ 100 ล้านปีมาแล้ว ทำให้สัตว์เลื้อยคลานในยุคจูแรคสิคเกิดการสูญพันธุ์อย่างกะทันหัน จำนวนที่เคยมีมากถึง 12 กลุ่ม ได้ลดจำนวนลงเหลืออยู่เพียง 4 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีที่สุดคืองู และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดได้แก่ จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน และรองลงมาเป็นจระเข้และแอลลิเกเตอร์ สำหรับสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มที่ยังคงลักษณะทางกายภาพแบบโบราณ ที่ไม่มีการปรับตัวให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษคือเต่า และสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มสุดท้ายคือทัวทารา ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวและสามารถพบเห็นได้ที่นิวซีแลนด์เพียงประเทศเดียวเท่านั้น[3]
สัตว์เลื้อยคลาน มีการปรับสภาพร่างกายที่แตกต่างไปจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายอย่าง ซึ่งทำให้สัตว์เลื้อยคลานนั้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งในทะเลทรายได้ แต่สำหรับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไม่สามารถดำรงชีวิตในทะเลทรายได้ เนื่องจากเวลาผสมพันธุ์ จะต้องอาศัยแหล่งน้ำเป็นตัวกลางในการผสมพันธุ์ ผิวหนังของ สัตว์เลื้อยคลานมีความแห้ง หยาบกระด้างกว่าผิวหนังที่ลื่น และเป็นเมือกของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งจะช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย และช่วยป้องกันอันตรายให้แก่ผิวหนังรวมทั้งไม่มีต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันอยู่ใต้ชั้นของผิวหนัง ซึ่งช่วยทำให้ป้องกันการสูญเสียน้ำและการระเหยของน้ำได้เป็นอย่างดี
สิ่งสำคัญที่สุดคือ สัตว์เลื้อยคลานนั้นจะวางไข่บน พื้นดิน และมีการวิวัฒนาการให้มีการปฏิสนธิของตัวอ่อนภายในเปลือกไข่ ซึ่งเป็นการปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการดำรงชีวิตให้รอดพ้นจากแหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีการวิวัฒนาการของเปลือกไข่ เพื่อช่วยให้ตัวอ่อนภายในไข่มีชีวิตรอดออกมาเป็นตัว เปลือกไข่ของสัตว์เลื้อยคลานทำให้สามารถวางไข่บนพื้นดินแห้งได้ เอมบริโอจะเจริญเติบโตและลอยตัวอยู่ในของเหลวภายใน ที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มเยื่อหุ้มไข่ (Amnion) เอมบริโอจึงมีของเหลวล้อมรอบเช่นเดียวกับการวางไข่ในแหล่งน้ำ นอกจากนี้เอมบริโอยังมีถุงอาหารที่มีเยื่ออัลแลนทอยส์ (Allantois) ซึ่งเป็นเยื่อสำหรับการแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเปลือกไข่ ที่เยื่ออัลแลนทอยส์ จะมีถุงสำหรับสะสมของเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างการเจริญเติบโต จนเป็นตัวเต็มวัยก่อนออกจากเปลือกไข่ ซึ่งการที่สัตว์เลื้อยคลานสามารถวางไข่บนบกได้นั้น จึงเป็นผลของการวิวัฒนาการร่างกายที่ดีกว่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
วิวัฒนาการ
สัตว์เลื้อยคลาน มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในกลุ่ม Labyrinthodont ที่นักชีววิทยาต่างยอมรับในด้านของการวิวัฒนาการ เป็นสัตว์ที่มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัวเช่นเดียวกับปลาที่มีชีวิตอยู่ในยุคคาร์โบนิเฟอรัส (Carboniferous period) ในมหายุคพาลีโอโซอิค (Palaeozoic era) หรือเมื่อประมาณ 280 ล้านปีมาแล้ว สัตว์เลื้อยคลานที่เป็นต้นตระกูลของสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดคือ Captorhinomorphs ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์จำพวกกิ้งก่า สัตว์ต้นตระกูลของสัตว์เลื้อยคลาน จัดเป็นสัตว์ขนาดที่มีขนาดลำตัวเล็ก อาหารส่วนใหญ่จึงเป็นแมลงจากสัตว์ต้นตระกูลขนาดเล็ก ได้มีการวิวัฒนาการทางด้านกายภาพอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในการวิวัฒนาการ มีด้วยกันทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ไดโนเสาร์ (Dinosaurs) สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในทะเล (Marinereptiles - euryapsida) สัตว์เลื้อยคลานที่สามารถบินได้ (Flying reptiles - pterisaurs) และสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammal reptiles - therapsida)
สัตว์เลื้อยคลานมีการปรับสภาพร่างกายตั้งแต่ในยุคไตรแอสสิค (Triassic period) และมีวิวัฒนาการในการด้านปรับสภาพร่างกายจนถึงขีดสุดในยุคต่อมาคือยุคจูแร คสิค ซึ่งเป็นยุคที่มีสัตว์เลื้อยคลานมากที่สุดในขณะนั้นคือไดโนเสาร์และเทอโร ซอส์ จนได้รับการขนานนามสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้ว่า "สัตว์เลื้อยคลานเจ้าโลก" (Ruling eptile) เนื่องจากในยุคนั้น เป็นยุคที่มีสัตว์เลื้อยคลานครอบครองโลก แต่เมื่อถึงปลายยุคครีเทเซียส หรือเมื่อประมาณ 65 - 80 ล้านปีมาแล้ว สัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 กลุ่มได้เกิดการสูญพันธุ์ ล้มตายลงเป็นจำนวนมากอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ และในตอนปลายของยุคครีเทเซียส ได้เกิดการเปลี่ยนปลงต่าง ๆ จำนวนมากเช่น เกิดพืชและไม้ดอกในยุคปัจจุบัน
ภายหลังจากสัตว์เลื้อยคลานเริ่มสูญพันธุ์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเริ่มมีการแพร่กระจายเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนครอบครองโลกแทนสัตว์เลื้อยคลาน สภาพภูมิอากาศจากที่ร้อนจัดจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เริ่มเย็นลงตามลำดับและมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ปรากฏในยุคปัจจุบันเริ่มถือกำเนิดขึ้น แต่ไดโนเสาร์และเทอโรซอส์ไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยน แปลงอย่างกะทันหัน หรืออาจสูญพันธุ์จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปร่วมกับปัจจัยในด้านนิเวศวิทยา
แต่ยังมีสัตว์เลื้อยคลาน 4 กลุ่มและบางชนิด ที่สามารถเอาตัวรอดจากการสูญพันธุ์ได้ จนมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันเช่นเต่าที่จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานในยุคโบราณ ที่ยังมีชีวิตรอดมาได้เนื่องจากมีกระดองสำหรับป้องกันตัวเอง งูและสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ด อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าโปร่ง และตามซอกหิน ช่วยทำให้รอดพ้นจากศัตรู จระเข้และแอลลิเกเตอร์มีขนาดร่างกายที่ใหญ่และดูน่ากลัว รวมทั้งพละกำลังมหาศาลทำให้มีศัตรูน้อย เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป
สัตว์เลื้อยคลานโดยทั่วไป จะมีรยางค์เป็นคู่และมักจะมีนิ้วเท้าทั้งหมด 5 นิ้วเสมอ[4] เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างรวดเร็ว โครงร่างโดยทั่วไปประกอบด้วยกระดูกที่มีการเจริญเติบโตเป็นอย่างดี ในการจำแนกสัตว์เลื้อยคลาน จะใช้วิธีการอาศัยลักษณะของกะโหลก ซึ่งมีความแตกต่างกันในสัตว์เลื้อยคลานแต่ละกลุ่มเป็นตัวจำแนกเช่น งูมีข้อกระดูกสันหลังจำนวนมาก ไม่มีกระดูกอกและไม่มีกระดูกรองรับแขนขา
มีการปรับโครงสร้างและสภาพร่างกายเพื่อรองรับการปีนป่าย การวิ่ง รวมทั้งการว่ายน้ำ ซึ่งการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายของสัตว์เลื้อยคลาน จะไม่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่จะมีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นเช่น งู และสัตว์จำพวกกิ้งก่าบางชนิดที่ไม่มีรยางค์ มีผิวหนังหรือระบบเครื่องห่อหุ้ม (Integumentary system) ซึ่งจะแตกต่างกันตามรูปร่างและลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีความแตกต่างกันไปในกลุ่มต่าง ๆ ผิวหนังและตลอดทั่วทั้งลำตัวมีเกล็ดแข็งขึ้นปกคลุม ซึ่งเป็นเกล็ดที่เกิดจากอิพิเดอร์มิส (Horny epidermal scale) และอาจจะมีแผ่นกระดูกจากชั้นของผิวหนังเดอร์มิส (Dermal plate) ร่วมอยู่ด้วย
มีต่อมที่บริเวณผิวหนังน้อยมากหรือไม่มีเลยในบางกลุ่มและบางชนิด สัตว์เลื้อยคลานมีผิวหนังที่ประกอบด้วยอิพิเดอร์มิสที่บางและหนา มีเดอร์มิสที่มีเซลล์เม็ดสี (Chromatophore) ช่วยทำให้ผิวหนังของสัตว์เลื้อยคลานมีสีสันต่าง ๆ เช่น สีเกล็ดของงูชนิดต่าง ๆ สีเกล็ดของจระเข้ หรือสีเกล็ดของกิ้งก่า จิ้งเหลน เป็นต้น เกล็ดของสัตว์เลื้อยคลานส่วนใหญ่เกิดจากอิพิเดอร์มิส ซึ่งในบางชนิดจะมีเกล็ดถาวรตลอดชีวิต ตั้งแต่ออกจากไข่จนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยเช่น จระเข้ เหี้ย มังกรโคโมโด แอลลิเกเตอร์ ฯลฯ
แต่สำหรับสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดเช่นจิ้งจก งู หรือกิ้งก่า จะทำการสร้างเกล็ดขึ้นมาใหม่ภายใต้ชั้นผิวหนังที่มีเกล็ดเดิมปกคลุมอยู่ การสร้างเกล็ดใหม่จะช่วยทำให้เกล็ดเดิมที่บริเวณชั้นผิวหนังของสัตว์เลื้อย คลาน เกิดการลอกหลุดออกทั้งชั้นเช่นการลอกคราบของงู โดยงูจะทิ้งเกล็ดเดิมเอาไว้ทั้งหมดด้วยวิธีการปลิ้นออกจากร่างกายตั้งแต่หัว จรดหาง โดยที่คราบจะยังคงรูปเดิมเอาไว้และไม่ฉีกขาด แต่สำหรับลิซาร์ดหรือสัตว์จำพวกกิ้งก่า จะใช้วิธีการทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนังอยู่เดิมนั้นเกิดการแตกแยกออกเป็น ชิ้นเล็ก ๆ แล้วเกล็ดใหม่จะขึ้นมาแทนที่เกล็ดเดิมที่หลุดออกไป
เต่าจะมีกระดองที่เป็นผิวหนังชั้นเยื่อบุผิว ซึ่งกระดองเต่านั้นจะเป็นแผ่นเกล็ดปกคลุมร่างกาย (Epidermal horny shield scutes) และผิวหนังชั้นในที่มีแผ่นกระดูก (Dermal hony plate) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูก มีลักษณะติดอยู่กับด้านในของแผ่นเกล็ด ซ้อนกันเป็นชั้นจนกลายเป็นกระดองของเต่าที่มีความแข็งแรงคงทน สำหรับช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่เต่า กระดองเต่าบริเวณด้านหลังเรียกว่าคาราเพส (Carapace) มีลักษณะเหมือนกับรูปโดม ขนาดเล็กหรือใหญ่ของกระดองเต่าจะขึ้นอยู่กับลักษณะภายนอกและขนาดของเต่าเป็นสำคัญ
กระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงของเต่า จะขยายตัวออกและเชื่อมติดกันเป็นเนื้อเดียว ติดกับบริเวณผิวด้านในของเกล็ด สำหรับกระดองเต่าบริเวณด้านท้องเรียกว่าพลาสทรอน (Plastron) จะมีกระดูกรองรับบริเวณแขน ขา และส่วนกระดูกบริเวณอกที่แบนลงไปจะเกาะติดกับบริเวณด้านในของเกล็ดบริเวณ ด้านท้องของกระดองเต่า แผ่นเกล็ดและแผ่นกระดูกจะมีการเรียงตัวอย่างสวยงามและเหลื่อมซ้อนกันอย่าง เป็นระเบียบ ซึ่งระหว่างกระดองเต่าบริเวณด้านหลังและกระดองเต่าบริเวณด้านท้อง จะมีเยื่อหรือกระดูกที่เชื่อมต่อทางด้านข้าง แต่สำหรับเต่าบางชนิดนั้นจะไม่มีแผ่นเกล็ด ผิวหนังบริเวณลำตัวจะมีความอ่อนนุ่มและเหนียวคล้ายคลึงกับผิวหนังแทน
การจำแนกหมวดหมู่สัตว์เลื้อยคลาน
การจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน จากเดิมที่เคยมีมากถึง 12 กลุ่ม แต่ภายหลังจากการสูญพันธุ์อย่างกะทันหันของไดโนเสาร์ จึงเหลือกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานเพียงแค่ 4 กลุ่มเท่านั้น และเป็นการจัดอันดับของสัตว์เลื้อยคลานตามแบบของ Hickman et al., 198 ดังนี้[5]
- อันดับ Squamata
- อันดับ Testudines
- อันดับ Crocodilia
- อันดับ Rhynchocephalia
สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดและงู
สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดได้แก่กิ้งก่าชนิดต่าง ๆ และงู ถือเป็นผลจากการวิวัฒนาการร่างกายในระดับสูงสุด มีจำนวนประมาณร้อยละ 95 ของสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถรอดชีวิตจากการสูญพันธุ์ในยุคครีเทเซียส ในขณะที่ไดโนเสาร์มีวิวัฒนาการที่เจริญอย่างถึงขีดสุด ความสำเร็จในการเอาตัวรอดของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ด เกิดจากการวิวัฒนาการขากรรไกร ทำให้เกิดความคล่องตัวและการเคลื่อนไหวไปมา งูมีการวิวัฒนาการจนถึงขีดสุดในยุคครีเทเซียสตอนปลาย ซึ่งอาจจะเป็นการวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ด ทำให้มีขากรรไกรที่คล่องตัวเช่นเดียวกัน แต่สำหรับงูที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ฝังตัวเองภายในดิน ได้มีการพัฒนาการตัวเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้สามารถกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้เหลายเท่า
มีถิ่นที่อยู่อาศัยและแพร่กระจายในวงกว้าง สามารถดำรงชีวิตบนบกหรือฝังตัวเองอยู่ใต้ดิน อาศัยในแหล่งน้ำ พุ่มไม้ และมีบางกลุ่มที่สามารถร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ได้ ซึ่งสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดที่หลงเหลือในปัจจุบันได้แก่จิ้งจก ตุ๊กแก ที่จัดเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ปราดเปรียวว่องไว ออกหากินในเวลากลางคืน นิ้วเท้ามี 5 นิ้วและแผ่ออก สามารถไต่และยึดเกาะกับผนังและเพดานได้ดี อิกัวนาในนิวซีแลนด์จะมีเกล็ดที่ปกคลุมผิวหนังที่มีสีสันสดใส มีแผงหลังเป็นสันตามยาว บริเวณแผงคอแผ่ออกคล้ายกับพัด จิ้งเหลนจะมีลำตัวยาว ขามีขนาดเล็ก
สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดเช่น กิ้งก่า ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ตามพุ่มไม้ในทวีปแอฟริกาและเกาะมาดากัสการ์มีลักษณะที่แตกต่างไปจากกิ้งก่าที่อาศัยในแถบทวีปอื่นเล็กน้อย ปลายลิ้นจะมีสารเหนียวสำหรับจับแมลง ซึ่งลักษณะตามถิ่นที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม จะเป็นตัวกำหนดให้ต้องมีการปรับตัวเฉพาะอย่างเช่น ในประเทศอินเดียมีกิ้งก่าบินสีฟ้า ที่มีผนังข้างลำตัวแผ่ออกเป็นปีกบาง ๆ ทำให้สามารถร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ได้ หรือมังกรโคโมโดที่ปัจจุบันมีอยู่เฉพาะที่ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดที่มีขนาดรูปร่างใหญ่โตที่สุด โดยทั่วไปขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 เมตร กินกวางขนาดเล็ก หมูป่าและแกะเป็นอาหาร หรือตุ๊ดตู่ที่พบได้ตามหมู่เกาะมาลายู สุมาตรา บอร์เนียว พม่าและไทย
ชนิดที่มีพิษได้แก่ Beaded lizard จะมีเกล็ดปกคลุมผิวหน้าที่มีลักษณะคล้ายลูกปัด มีอยู่ 2 ชนิดคือ Gila monsters ชนิด Heloderma suspectum อาศัยอยู่ในแถบทะเลทรายทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา เป็นชนิดที่สามารถสะสมไขมันไว้ที่บริเวณปลายหาง และ Heloderma horridum ในเม็กซิโกและอเมริกากลาง สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดทั้ง 2 ชนิด จะเปลี่ยนแปลงต่อมบริเวณผนังขากรรไกรด้านล่าง ให้สามารถสร้างพิษแล้วส่งมาตามร่องฟันในเวลากัดเหยื่อ ซึ่งลักษณะของวิธีการส่งพิษแบบนี้ จึงไม่มีประสิทธิภาพมากนัก และไม่เป็นอันตรายร้ายแรงเหมือนถูกงูกัด บาดแผลจะหายเป็นปกติในระยะเวลาอันสั้น
ชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทราย จะมีวิธีการรักษาอุณหภูมิของสภาพร่างกายให้ทนต่อสภาพอากาศร้อนจัดตาม ธรรมชาติ โดยสร้างพฤติกรรมในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ด้วยการออกจากที่ที่ฝังตัวเพื่อมานอนอาบแดดในตอนเช้าในขณะที่อากาศเริ่มอุ่น ลักษณะลำตัวเฉพาะที่แผ่แบนจะช่วยดูดซึมเอาความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้เป็น อย่างดี เมื่ออากาศเริ่มร้อนขึ้นตามลำดับ จะหันหัวเข้าหาดวงอาทิตย์เพื่อให้บริเวณลำตัวถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด เมื่ออากาศเปลี่ยนเป็นร้อนจัดในตอนเที่ยงก็จะกลับเข้าไปอยู่ในรู และเมื่อดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า อากาศเริ่มเย็นลงก็จะออกมานอนอาบแดดใหม่อีกครั้งจนกว่าแสงแดดจะหมด จึงจะกลับเข้าไปฝังตัวในรูอีกครั้ง
พฤติกรรมดังกล่าว จะช่วยให้สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่ในระหว่าง 36 - 39 องศาเซลเซียส ในขณะที่สภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตลอดเวลา คืออยู่ในระหว่าง 29 - 44 องศาเซลเซียส แต่มีบางชนิดที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่ร้อนจัดได้เช่น เหี้ยที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา ต้องการรักษาอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 42 องศาเซลเซียส แต่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนจัดได้ถึง 47 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมไม่สามารถทนได้
สัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ดเช่น กิ้งก่าจำนวนมากที่มีความสามารถในการเอาตัวรอดด้วยการสลัดหางทิ้งในเวลาถูก จับตัว เป็นลักษณะหนึ่งของการเอาตัวรอดด้วยการดัดแปลงส่วนบริเวณโคนหาง ให้สามารถหลุดขาดออกจากลำตัวได้อย่างง่ายดาย โดยที่กระดูกปลายหางตอนกลางจะมีร่องตามขวาง เมื่อถูกศัตรูจับหรือตะปบได้ รอยต่อตรงร่องกระดูกจะขาดออกแล้วสลัดหางทิ้งเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจก่อน จะหลบหนีไป หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างกระดูกบริเวณส่วนหางและกล้ามเนื้อขึ้นมาแทนใหม่ อีกครั้ง
สำหรับงูซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ไม่มีขา เป็นเพียงชนิดเดียวที่ไม่มีกระดูกรองรับแขน (Pectoral girdle) และไม่มีกระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) แต่สำหรับงูที่มีขนาดลำตัวใหญ่โตเช่น งูเหลือม งูหลามหรืออนาคอนดา ยังคงหลงเหลือร่องรอยของกระดูกเชิงกรานอยู่ มีข้อของกระดูกสันหลังที่สั้นและมีความกว้างมากกว่าสัตว์สี่เท้าชนิดอื่น ๆ ทำให้สามารถเคลื่อนไหวลำตัวแบบลูกคลื่นได้ งูเป็นสัตว์ที่มีกระดูกซี่โครงแข็งแรงกว่าแท่งกระดูกสันหลัง ทำให้สามารถทนแรงกดดันทางด้านข้างได้มากกว่า
การเคลื่อนที่ขึ้นลงของกระดูกสันหลังของงู จะทำให้กล้ามเนื้อถูกยกขึ้นลงไปด้วย กะโหลกศีรษะมีลักษณะเฉพาะตัว หนังตาไม่เคลื่อนไหว นัยน์ตาไม่กะพริบ งูมีหนังตาบนและล่างที่ยาวเชื่อมติดกันไว้อย่างถาวร ไม่มีหูตอนนอกและแก้วหู (Tympanum) จึงไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง แต่มีความไวต่อการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นเช่น เสียงเดินบนพื้น นอกจากนี้งูยังมีประสิทธิภาพในด้านการมองเห็นที่ต่ำ ยกเว้นงูที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อน ตามต้นไม้จะ มีงูที่มีนัยน์ตาดีเยี่ยมอาศัยอยู่ ทำให้สามารถติดตามเหยื่อที่แฝงตัวและหลบซ่อนตามกิ่งก้านของต้นไม้ได้เป็น อย่างดี งูส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใช้การรับรู้ทางด้านความรู้สึกทางเคมีเช่น ความร้อนของร่างกายช่วยในการล่าเหยื่อ
งูในตระกูล Viperidae คือกลุ่มงู Vipers ได้แก่งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ มีลักษณะเฉพาะคือบริเวณส่วนของตาและจมูกจะมีแอ่งบุ๋มลึกลงไป สำหรับทำหน้าที่รับความรู้สึกและความร้อนจากร่างกายของเหยื่อ มีฟันที่ขากรรไกรด้านบน 1 คู่ ที่จะแปรเปลี่ยนไปเป็นเขี้ยวงู เมื่อเวลาหุบปากและขดตัวอยู่นิ่ง ๆ เขี้ยวที่อยู่ด้านบนจะวางนอนอยู่บนเยื่อหุ้ม (Membrana sheath) เมื่อโจมตีเหยื่อ ระบบกล้ามเนื้อในร่างกายจะทำงานร่วมกับกระดูกในการง้างเขี้ยวให้ตั้งฉากกับ เพดานปากเมื่องูฉกกัด เมื่อเขี้ยวเจาะผ่านเข้าไปในร่างกายของเหยื่อ พิษงูจะไหลมาตามท่อในเขี้ยวตรงไปยังบาดแผล หลังจากนั้นงูจะปล่อยเหยื่อทันทีและจะเฝ้าติดตามจนกว่าเหยื่อจะสลบหรือขาดใจ ตาย จึงจะกลืนกินเหยื่อเข้าไปทั้งตัว
ส่วนใหญ่งูชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ จะอาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือใกล้กับเขตร้อนของโลก งูไม่มีพิษจะใช้วิธีฆ่าเหยื่อด้วยการรัดหรือกัดให้ตายแล้วกลืนกิน ซึ่งอาหารส่วนใหญ่คือหนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก รวมถึงสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลา กบและแมลง บางชนิดกินไข่ของสัตว์อื่นเป็นอาหาร งูพิษมีประมาณไม่ถึง 1 ใน 3 ของงูทั้งหมด แบ่งตามลักษณะของเขี้ยวออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- เขี้ยวแบบพับเก็บได้ ลักษณะเขี้ยวแบบพับเก็บได้ จะพบได้ในวงศ์งูแมวเซา วงศ์งูกะปะและวงศ์งูเขียวหางไหม้ ลักษณะของเขี้ยวจะอยู่ที่ด้านหน้าของปาก สามารถพับเก็บเขี้ยวเข้าไปในปากได้
- เขี้ยวแบบพับเก็บไม่ได้ ลักษณะเขี้ยวแบบพับเก็บไม่ได้ จะพบได้ในวงศ์งูเห่า วงศ์งูปล้องหวาย วงศ์งูสามเหลี่ยมและวงศ์งูทับสมิงคลา ลักษณะของเขี้ยวจะสั้นไม่เคลื่อนไหว ยื่นตั้งฉากกับขากรรไกรอย่างถาวร เมื่อฉกกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมาทางเขี้ยว
- เขี้ยวที่อยู่ทางตอนท้ายของขากรรไกร ลักษณะเขี้ยวที่อยู่ทางตอนท้ายของขากรรไกร จะพบได้ในวงศ์งูเขียวกาบหมาก วงศ์งูทางมะพร้าว วงศ์งูสิง วงศ์งูปล้องฉนวน วงศ์งูปี่แก้ว วงศ์งูสายทอง วงศ์งูหัวศร วงศ์งูพงอ้อและวงศ์งูสายม่าน
ตามธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของงู เมื่อมีการผสมพันธุ์และวางไข่ก่อนฟักเป็นตัวอ่อนและเจริญเติบโตเป็นตัวโต เต็มวัย เปลือกไข่สีขาว ยาวรี มักวางไข่ตามท่อนไม้หรือตามรูบนพื้นดิน บางชนิดมักวางไข่ในพงหญ้าและเศษใบไม้แห้ง แต่มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว มีรกแบบโบราณสำหรับแลกเปลี่ยนสารระหว่างเอมบริโอกับกระแสเลือดของแม่ งูตัวเมียบางชนิดจะสามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อของงูตัวผู้ไว้ในร่างกายและ สามารถวางไข่ได้หลายครั้งหลังจากจับคู่ผสมพันธุ์
เต่า
เต่าจัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานเพียงกลุ่มเดียว ที่ยังคงลักษณะเฉพาะของสัตว์เลื้อยคลานในยุคโบราณอยู่หลายอย่าง เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีชีวิตตั้งแต่ในยุคไตรแอสสิคจน ถึงยุคปัจจุบัน โดยมีการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายที่น้อยมาก มีกระดองซึ่งแปรเปลี่ยนสภาพจากกระดูกเกล็ดที่ห่อหุ้มร่างกาย เป็นแผ่นเกล็ดที่สำหรับปกป้องตัวเองจากศัตรู สามารถหดหัวและขาเข้าไปหลบซ่อนภายในกระดองได้ ซึ่งลักษณะของการหดหัวของเต่า ส่วนใหญ่เต่าจะหดหัวเข้าไปภายในกระดองในลักษณะรูปตัว S คือการหดหัวในแนวตั้ง แต่มีเต่าที่อาศัยในแถบอเมริกาใต้และออสเตรเลียกลุ่มหนึ่ง จะหดหัวเข้ากระดองในลักษณะของการหดหัวแบบขวาง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าเต่าหัวข้างเช่น เต่าคอยาวที่อาศัยในออสเตรเลีย
แต่สำหรับเต่าที่อาศัยในยุคไตรแอสสิค จะมีส่วนคอที่มีความแข็งทำให้ไม่สามารถหดหัวเข้าไปภายในกระดองได้ นัยน์ตามองเห็นได้ดี มีหนังตาและผนังเยื่อใส ๆ ห่อหุ้มดวงตา ไม่สามารถกะพริบตาและกลอกตาไปมาได้อย่างมนุษย์ มีหูสำหรับรับฟังเสียงสั่นสะเทือนบนพื้น หูของเต่าไม่มีช่องทะลุเป็นรู ทำให้มองดูคล้ายกับไม่มีหู ขากรรไกรไม่มีฟัน แต่จะมี Horny cutting surface ที่มีความคมอยู่แทน มีลิ้นสั้น ๆ ติดอยู่กับพื้นปาก มีนิ้วเท้าที่มีเล็บไว้สำหรับขุดและคุ้ยทรายในฤดูวางไข่ แต่บางชนิดมีการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายจากเท้าทั้ง 4 ให้กลายสภาพเป็นพายสำหรับว่ายน้ำเช่น เต่าทะเล เป็นต้น
มีฟีนิสหรืออวัยวะเพศที่โคลเอดา (Cloacal penis) ในการปฏิสนธิภายใน เต่าทุกชนิดจะวางไข่เพื่อฟักออกมาเป็นตัวก่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ไข่เต่ามีลักษณะกลม ยาวและรี เปลือกนอกนิ่ม และมีสารหินปูนเป็นเยื่อคล้ายกับแผ่นหนังห่อหุ้มอยู่ เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบก ในแหล่งน้ำจืดและทะเล ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกเต่าโดยเฉพาะด้วยกัน 4 คำ ซึ่งจะใช้ในคามหมายที่มีความแตกต่างกันคือ Turtles, Terrapins, Tortoise และ Soft-shelled turtles โดยมีรายละเอียดเฉพาะ ดังนี้
- เทอร์เทิล (Turtles) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่จัดอยู่ในประเภทสะเทินน้ำสะเทินบกด้วย เรียกว่า Amphibous turtles ซึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ตามบึง บ่อคลองและในทะเล
- เทอร์ราพิน (Terrapins) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่มีกระดองแข็ง และใช้เรียกเต่าน้ำจืด
- เทอร์ทอยส์ (Tortoise) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่อาศัยบนบก
- เทอร์เทิลเปลือกอ่อนนุ่ม (Aoft-shelled turtles เป็นคำที่ใช้เรียกตะพาบน้ำ ลักษณะลำตัวไม่มีเกล็ด จึงมีผิวหนังที่ปกคลุมกระดอง ที่มีความเหนียวคล้ายกับหนัง
ลักษณะเฉพาะของเต่าน้ำจืดคือ มีกระดองเป็นแผ่นเกล็ดปกคลุมร่างกาย มีความหนา แข็งแรง ส่วนใหญ่อาศัยตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป มีหลายชนิดที่อาศัยบนบกมากกว่าในน้ำ ในประเทศไทยพบเต่ากระอานที่เป็นเต่าบกเพียงแห่งเดียวที่ทะเลสาบสงขลา กินหอยทากและปูเป็นอาหาร แต่ถ้าขาดแคลนก็จะกินพืชน้ำแทน เต่าบกเช่นเต่าหีบเมื่อ ออกจากไข่และเป็นตัวอ่อนจะอาศัยใกล้กับแหล่งน้ำจืด เมื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยจะออกห่างจากแหล่งน้ำ มีลักษณะเด่นคือบริเวณตอนกลางของกระดองด้านท้อง จะมีบานพับตามขวาง แบ่งกระดองด้านท้องออกเป็น 2 ส่วน เวลาถูกรบกวนหรือพบเห็นศัตรู จะพับกระดองด้านท้องเข้าหากัน อาศัยตามชายฝั่งทะเล ลักษณะกระดองมีความแข็งแรง มีลวดลายของกระดองสวยงามเป็นวงแหวนบนแผ่นเกล็ด
เต่าทะเล เป็นสัตว์เลื้อยคลานในยุคไตรแอสสิคอีกชนิดหนึ่ง ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลเขตร้อนและในบริเวณใกล้เคียงกับเขตร้อน เต่าทะเลจะอาศัยในทะเลเกือบตลอดชีวิต ยกเว้นฤดูวางไข่ที่จะขึ้นบกเพื่อวางไข่ตามชายหาดเท่านั้น ขาและรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงจากสัตว์ที่อาศัยบนบก เปลี่ยนเป็นขาที่มีลักษณะเหมือนใบพายของเรือเพื่อใช้ชีวิตในท้องทะเล เต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเต่ามะเฟือง ขนาดลำตัวยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 725 กิโลกรัม อิพิเดอร์มิสที่คลุมบริเวณกระดองมีลักษณะเหนียวนุ่ม ไม่มีเกล็ด มีสันตามยาวทางด้านหลัง เต่าตนุเป็นเต่าทะเลที่ถูกไล่ล่าจนใกล้จะสูญพันธุ์ในปัจจุบัน ลำตัวมีสีเขียวจากไขมันบนลำตัว ขาคู่หน้าทำหน้าที่เป็นพายสำหรับว่ายน้ำ ขาคู่หลังทำหน้าที่เป็นหางเสือในการเลี้ยวซ้ายขวา รวมทั้งใช้ในการถีบน้ำ น้ำหนักตัวประมาณ 180 กิโลกรัม จัดเป็น 1 ใน 5 ของเต่าทะเลของไทยเช่นเดียวกับเต่ามะเฟือง
เต่าบก เป็นเต่าขนาดกลางและใหญ่ตามลำดับ เต่าบกที่อาศัยในหมู่เกาะกาลาปากอส จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด น้ำหนักตัวประมาณ 230 กิโลกรัม อายุมากกว่า 200 ปี เคลื่อนที่ช้ามากด้วยอัตราความเร็ว 300 เมตร/ชั่วโมง ในประเทศไทยพบเต่าบกได้ทุกแห่งของภูมิภาค เช่นเต่าหกที่อาศัยตามเขาสูงในป่าดงดิบ พบได้ในแถบไทรโยค เขาวังหิน นครศรีธรรมราช เต่าเขาสูบที่อาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในประเทศไทย เต่าเหลืองที่มีกระดองสีเหลือง ชอบอาศัยตามภูเขาสูงหรือเนินเขาที่แห้งแล้งในป่าผลัดใบ
ตะพาบน้ำ เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีกระดองห่อหุ้มร่างกายเช่นเดียวกับเต่า ลำตัวประกอบด้วยกระดองบนและกระดองล่าง ลักษณะกระดองอ่อนนุ่มกว่า ผิวหนังที่ปกคลุมกระดองเหนียวคล้ายหนัง ทำให้มองดูเหมือนกับไม่มีเกล็ดแผ่ปกคลุม ขาคู่หน้ามีแผ่นพังผืดกว้าง มีเล็บเพียง 2-3 นิ้ว คอและขาหดได้มิดในกระดอง อาศัยอยู่ได้เกือบทุกสภาพแวดล้อม พบได้ในทางภาคใต้ของประเทศไทย บางชนิดมีนิสัยดุร้ายและมีกำลังมาก ต่อสู้แย่งชิงเพศเมียด้วยการกัดอย่างรุนแรง ปัจจุบันตะพาบเป็นที่นิยมนำมาประกอบเป็นอาหารของมนุษย์
จระเข้และแอลลิเกเตอร์
จระเข้และแอลลิเกเตอร์ จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด 4 กลุ่ม[6] สืบสายพันธุ์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคจูแรคสิคและครีเทเซียสจนถึงยุคปัจจุบัน[7] มีความสามารถในการปรับสภาพร่างกายในการอยู่รอดจากภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญ พันธุ์มากว่า 160 ล้านปี คงลักษณะโบราณทางด้านกายวิภาคเกือบทั้งหมดของร่างกาย ตั้งแต่ปลายจมูกจรดปลายหาง ไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้แตกต่างไปจากบรรพบุรุษในยุคโบราณ ปัจจุบันเหลือเพียง 21 ชนิดในโลก
จระเข้ส่วนใหญ่จะมีจมูกที่ยาวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แตกต่างจากแอลลิเกเตอร์ที่มีจมูกที่สั้นและป้านกว่ามาก มีขากรรไกรที่แข็งแรงรวมทั้งฟันที่แหลมคม ขนาดความยาวประมาณ 3 - 4 เมตร ลักษณะลำตัวใหญ่โตและดุร้าย ทำให้แลดูน่ากลัวและน่าเกรงขามต่อผู้พบเห็น ผิวหนังแข็งเป็นเกล็ดปกคลุมตลอดลำตัว ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก ออกลูกเป็นไข่ครั้งละประมาณ 20 - 28 ฟอง[8] จัดอยู่ในประเภทสัตว์กินเนื้อทุกชนิดซึ่งรวมทั้งมนุษย์ด้วย มีแหล่งอาศัยในแถบทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิดได้แก่จระเข้น้ำจืด ( Crocodylus siamensis), จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และตะโขงหรือจระเข้ปากกระทุงเหว (Tomistoma schlegeli) ที่มีปากแหลมยาวแตกต่างจากจระเข้ทั่วไป[9]
สำหรับจระเข้น้ำกร่อย (Estuarine crocodila Crocodylus porosus) สามารถพบเห็นได้ในทางเอเชียใต้ จัดเป็นจระเข้ขนาดใหญ่มาก มักขึ้นฝั่งเพื่อล่าเหยื่อในกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเช่น แพะ แกะ กวาง และนกเป็นอาหาร เมื่อล่าเหยื่อได้จะงับและลากลงไปใต้น้ำ จนกระทั่งเหยื่อขาดอากาศหายใจและตายจึงฉีกกินเป็นอาหาร ในขณะที่แอลลิเกเตอร์ ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดคล้ายจระเข้ แต่มีความดุร้ายน้อยกว่า มักพยายามขึ้นฝั่งเพื่อที่จะส่งเสียงร้องซึ่งเป็นลักษณะที่มีความแตกต่างจาก สัตว์เลื้อยคลานประเภทอื่น เช่น มาเลเซีย
แอลลิเกเตอร์ตัวผู้จะสามารถส่งเสียงร้องที่ดังมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เพื่อเป็นการสื่อสารสัญญาณระหว่างแอลลิเกเตอร์ตัวเมีย และจะพบ Vocal sac ที่บริเวณสองข้างของลำคอซึ่งจะโป่งพองออกในขณะที่ส่งเสียงร้อง วางไข่ครั้งละประมาณ 20 - 50 ฟอง ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าจำนวนไข่ของจระเข้ เมื่อแอลลิเกเตอร์ตัวเมียพร้อมที่จะวางไข่ จะเลือกวางไข่ตามซากพืช
ทัวทารา
ทัวทารา เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่มหายุคมีโซโซอิก ซึ่งเป็นยุคเดียวกับไดโนเสาร์ ทัวทารามีแผงหนามที่ต้นคอไปจนถึงถึงแนวกระดูกสันหลัง มีตา 3 ดวง ซึ่งดวงที่ 3 อยู่กลางหัวเหนือดวงตาทั้ง 2 ข้าง ในอดีตเคยเป็นสัตว์ที่หาดูได้ง่ายในประเทศนิวซีแลนด์ แต่ปัจจุบันถือเป็นสัตว์หายาก พบได้แค่ในบางเกาะของนิวซีแลนด์เท่านั้น เป็นกลายเป็นสัตว์คุ้มครองตามกฎหมายไปแล้วอาหารและการล่าเหยื่อ
- คามีเลียน ล่าเหยื่อโดยพรางตัวให้เข้ากับธรรมชาติเพื่อป้องกันศัตรู และล่าเหยื่อได้ง่าย
- กิ้งก่าบาซิลิสก์ ล่าเหยื่อบนน้ำ
- งูกินไข่ จะขโมยกินไข่ของนกตัวอื่นเป็นอาหาร
- งูแซลโมซา จะจับเหยื่อในที่มืด อย่างถ้ำ ได้
- งูกินหนู เป็นงูเพื่อนของมนุษย์ จับหนูกินเป็นอาหาร
- งูทะเล จะจับเหยื่อใต้ทะเล
- ตะโขง ล่าเหยื่อโดยใช้ปากฟาดเหยื่อ
- เต่าจระเข้ยักษ์ ล่าเหยื่อโดยใช้ลิ้นออกมาให้เหยื่อหลงกลว่าเป็นไส้เดือน
การสืบสายพันธุ์
งู
- ขั้นที่ 1 การผสมพันธุ์ ใน 1 ปี งูจะหาคู่และผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว
- ขั้นที่ 2 ไข่ แม่งูจะวางไข่ครั้งละประมาณ 10 ฟอง
- ขั้นที่ 3 การฟักไข่ ไข่สามารถฟักตัวเร็วที่สุดภายใน 1 วัน และช้าที่สุดภายใน 80 วัน
- ขั้นที่ 4 ตัวเต็มวัย
กิ้งก่า
- ขั้นที่ 1 การผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเพศผู้จะต่อสู่กัน เพื่อแย่งชิงเพศเมีย
- ขั้นที่ 2 ไข่ ทั้งวางไข่ครั้งละ 1 ฟอง และวางไข่ครั้งละเป็นกอง
- ขั้นที่ 3 การฟักไข่ เพศเมียจะกกไข่หรือคอยดูแลไข่จนกว่าจะฟักตัว
- ขั้นที่ 4 ตัวเต็มวัย
สัตว์ปีก
สัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบาในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมาก ที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย
นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและ ต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้
วิวัฒนาการ
นกมีความคล้ายคลึงกับไอฟิสสัตว์เลื้อยคลานหลายประการ เช่น โครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อ เกล็ดที่ขา การออกลูกเป็นไข่ และการเจริญเติบโตของตัวอ่อน จึงเชื่อกันว่านกในปัจจุบันถือกำเนิดมาจากสัตว์เลื้อยคลานยิ่งไปกว่านั้น มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากยืนยันว่านกมีวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์เทอโรพอด ตัวอย่างเช่น ซากดึกดำบรรพ์อาร์คีออปเทอริกซ์ที่ค้นพบในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1861 ซากดึกดำบรรพ์นี้มีอายุประมาณ 150 ล้านปี บ่งบอกว่าอาร์คีออพเทอริกซ์อาศัยอยู่ในยุคจูแรสสิก และมีลักษณะกึ่งนกกึ่งเทอโรพอด โดยอาร์คีออพเทอริกซ์ต่างจากนกในปัจจุบันตรงที่มีสามเล็บยื่นออกมาจากอุ้ง มือ มีฟันที่ปาก และมีกระดูกหางยาว แต่ขณะเดียวกันบริเวณลำตัวก็มีขนนกปกคลุม ทำให้นักปักษีวิทยาเชื่อว่าอาร์คีออพเทอริกซ์น่าจะเป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน
เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์คริพโทโวแลนส์ที่ประเทศจีน ซึ่งมีสันที่กระดูกอก และส่วนยื่นรูปตะขอที่ซี่โครง ซากดึกดำบรรพ์คริพโทโวแลนส์จึงนับว่ามีความเป็นนกมากกว่าซากดึกดำบรรพ์ใดๆ ที่เคยค้นพบ
กายวิภาคเพื่อการบิน
ทุกส่วนในร่างกายของนกถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นเจ้าเวหาอย่างแท้จริง เริ่มจากกระดูก ที่ภายในมีลักษณะกลวงคล้ายรวงผึ้ง ทำให้เบาแต่แข็งแรง นกบางชนิดในวงศ์นกโจรสลัด เมื่อกางปีกจะกว้างถึง 2 เมตร แต่น้ำหนักกระดูกทั้งหมดเพียงแค่ 113 กรัมเท่านั้นนอกจากนี้อวัยวะภายในบางอย่างของนกจะถูกตัดทอนออกไปเพื่อลดน้ำหนักตัวให้ได้มากที่สุด เช่นรังไข่ของตัวเมียที่เหลือเพียงข้างเดียว และปากที่ไร้ฟัน โดยนกจะไม่เคี้ยวอาหาร แต่กลืนลงไปย่อยในกึ๋นแทน
การบินของนกต้องใช้พลังงานจากเมแทบอลิซึมเป็นอย่างมาก นกจึงมีระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิตอันทรงประสิทธิภาพ จากหัวใจที่มี 4 ห้อง และท่อที่เชื่อมต่อระหว่างปอดกับถุงลมทั่วลำตัว
เพื่อความปลอดภัยในการบิน นกจึงต้องมีสัมผัสอันว่องไว โดยเฉพาะสัมผัสทางสายตา นกบางชนิดมีสายตาอันคมกริบ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสายตาที่ดีที่สุดในบรรดาสายตาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ด้วยกัน สมองส่วนรับภาพของนกพัฒนาไปมาก เช่นเดียวกับสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว เพราะการบินที่ดีต้องอาศัยการประสานงานที่ดีของทุกส่วนในร่างกายนั่นเอง
สิ่งที่ขาดไปไม่ได้สำหรับการบินคือ ปีก นกมีปีกที่เป็นไปตามหลักอากาศพลศาสตร์ ซึ่งช่วยให้เกิดแรงยกขณะบิน ในการกระพือปีก นกจะใช้กล้ามเนื้ออกอันแข็งแรงที่ติดอยู่กับกระดูกอก นกที่บินเร็วที่สุดคือนกในวงศ์นกแอ่นบินเร็ว ซึ่งบินได้เร็วถึง 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนขนนกนั้นนับว่าเป็นพัฒนาการที่พิเศษสุดอย่างหนึ่งในบรรดาพัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ขนนกเป็นส่วนประกอบของเคราติน มีลักษณะเบาแต่แข็งแรง ขนนกช่วยป้องกันนกจากแสงแดด ช่วยในการหาคู่ ช่วยในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย และที่สำคัญที่สุดคือช่วยในด้านการบินของนก
ความเป็นอยู่
อาหารการกิน
ใน แต่ละวันนกต้องการอาหารจำนวนมากเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) โดยนกแต่ละชนิดจะหาอาหารที่แตกต่างกันออกไป นกบางชนิดเลี้ยงชีพด้วยน้ำต้อย บางชนิดเลี้ยงชีพด้วยธัญพืช แมลง สัตว์พวกหนู สัตว์พวกกิ้งก่า ปลา ซากเน่า ไปจนถึงนกด้วยกัน นกจะพัฒนารูปร่าง ปีก ขา และปาก ให้มีลักษณะเหมาะสมกับการหาอาหาร นกส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน มีนกเพียงบางชนิดเท่านั้นที่หากินในเวลากลางคืนนกบางชนิดหากินร่วมกันเป็นฝูง เช่น ฝูงนกนางนวลที่บินร่อนหาปลาตามชายทะเล หรือฝูงนกเป็ดน้ำรวมตัวกันแหวกว่ายอยู่ในบึง ซึ่งการหากินร่วมกันเป็นฝูงใหญ่ช่วยให้นกหาอาหารง่ายขึ้นและได้ปริมาณมากกว่าหากินตามลำพัง รวมทั้งยังช่วยกันระวังภัยได้เป็นอย่างดี
ส่วนนกบางชนิดก็มีพฤติกรรมการหาอาหารร่วมกับสัตว์อื่น เช่น นกเอี้ยงที่หากินร่วมกับวัวควาย โดยนกเอี้ยงจะคอยจับแมลงที่พากันบินหนีขึ้นมาเมื่อวัวควายเดินย่ำไปบนดิน นอกจากนี้นกเอี้ยงยังชอบเกาะบนตัววัวควายเพื่อจับแมลงที่บินตอมตามตัววัว ควายอีกด้วย
ถิ่นอาศัย
นก แต่ละชนิดมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับถิ่นอาศัยต่างๆ เราจึงสามารถพบนกได้ทุกหนทุกแห่งในสภาพแวดล้อมอันหลากหลาย ซึ่งพอจะแบ่งถิ่นอาศัยของนกได้ดังนี้- บริเวณชายหาดและท้องทะเล
- มีนกหลายชนิดที่เดินหากินตามแนวหาดทรายชายทะเล เช่น นกหัวโตมลายู และ นกยางทะเล เป็นต้น ขณะที่นกหลายชนิดโผผินบินร่อนอยู่ตามหน้าผาริมทะเล หรือแม้แต่ในทะเลลึกก็เป็นแหล่งหากินของนกขนาดใหญ่ เช่น นกโจรสลัด ซึ่งนกโจรสลัดสามารถบินวนอยู่บนท้องฟ้าได้เป็นเวลาหลายวันโดยไม่ต้องร่อนลง บนพื้นดิน โดยนกที่หากินในท้องทะเลนี้ เรามักเรียกว่า นกทะเล
- ตามแนวชายฝั่งที่มีไม้ชายเลนขึ้นหนาแน่นเป็นถิ่นอาศัยของนกมากมาย เช่น นกกินเปี้ยว และ เหยี่ยวแดง เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะมีนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามาพักอาศัยเป็นจำนวนมาก นกที่หากินตามป่าชายเลนนี้มีชื่อเรียกโดยรวมว่า นกชายเลน นอกจากนี้ก็มีฝูงนกนางนวลซึ่งเป็นนกทะเลหากินบริเวณนี้ด้วย
- บริเวณทุ่งหญ้า ที่ลุ่มน้ำขัง และหนองบึง
- พื้นที่เกษตรกรรมแถบชานเมืองหรือในชนบทเป็นที่อยู่ของนกหลายชนิด นกที่อาศัยอยู่ตามทุ่งนาหรือทุ่งหญ้าโล่ง เรามักเรียกกันว่า นกทุ่ง เช่น นกตะขาบทุ่ง นกกระจิบหญ้า เป็นต้น ส่วนนกที่อาศัยตามแหล่งน้ำ เช่น หนอง บึง ทะเลสาบ เรามักเรียกว่า นกน้ำ เช่น นกยาง นกเป็ดน้ำ และ นกกวัก เป็นต้น
- ป่าไม้ประเภทต่างๆ
- ถือว่าเป็นสถานที่ที่มีนกอาศัยอยู่มากกว่าแห่งอื่น เนื่องจากเหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของนกนานาชนิด เช่น นกเงือก นกขุนแผน นกโพระดก และ นกแต้วแล้ว เป็นต้น นกที่อาศัยหากินในป่ามีชื่อเรียกโดยรวมว่า นกป่า
- สภาพแวดล้อมอื่นๆ
- นกบางชนิดมีการปรับตัวจนสามารถอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แม้แต่สัตว์อื่นยังอาศัยอยู่ได้ยาก เช่น ทะเลทราย ขั้วโลกใต้ หรือแม้แต่ในเมือง
Paleognathae
อันดับใหญ่ Paleognathae (ตามรากศัพท์แปลว่า ขากรรไกรแบบเก่า) ประกอบด้วยนกอันดับต่างๆ ดังนี้- อันดับแรไทท์ (Struthioniformes)
- อันดับนกไทแนมู (Tinamiformes)
Neognathae
อันดับใหญ่ Neognathae (ตามรากศัพท์แปลว่า ขากรรไกรแบบใหม่) ประกอบด้วยนกอันดับต่างๆ ดังนี้- อันดับห่าน (Anseriformes)
- อันดับไก่ (Galliformes)
- อันดับนกเพนกวิน (Sphenisciformes)
- อันดับนกลูน (Gaviiformes)
- อ้นดับนกเป็ดผี (Podicipediformes)
- อันดับนกจมูกหลอด (Procellariiformes)
- อันดับนกกระทุง (Pelecaniformes)
- อันดับนกกระสา (Ciconiiformes)
- อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes)
- อันดับเหยี่ยวปีกแหลม (Falconiformes)
- อันดับนกคุ่มแท้ (Turniciformes)
- อันดับนกกระเรียน (Gruiformes)
- อันดับนกหัวโต (Charadriiformes)
- อันดับนกแซนด์เกราส์ (Pteroclidiformes)
- อันดับนกพิราบ (Columbiformes)
- อันดับนกแก้ว (Psittaciformes)
- อันดับนกคัคคู (Cuculiformes)
- อันดับนกเค้า (Strigiformes)
- อันดับนกตบยุง (Caprimulgiformes)
- อันดับนกแอ่น (Apodiformes)
- อันดับนกตะขาบ (Coraciiformes)
- อันดับนกหัวขวาน (Piciformes)
- อันดับนกขุนแผน (Trogoniformes)
- อันดับนกโคลี (Coliiformes)
- อันดับนกจับคอน (Passeriformes)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (อังกฤษ: Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม[1] มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด[2] เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่
วิวัฒนาการ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีวิวัฒนาการในระยะตอนต้นของมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานก่อนหน้าที่ไดโนเสาร์จะมีวิวัฒนาการจนถึงระดับสูงสุด มีกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมปรากฏขึ้น ได้แก่เธอแรพสิด (Therapsids) ที่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน เธอแรพสิดมีการเปลี่ยนแปลงร่างกาย รวมทั้งโครงสร้างหลาย ๆ อย่าง จนมีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในปัจจุบัน แต่เดิมเธอแรพสิด จะมีรยางค์สองข้างที่ตั้งฉากออกมาจากด้านข้างของลำตัว ตามลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานในมหายุคมีโซโซอิก ต่อมาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ รยางค์ที่เคยตั้งฉากจากด้านข้างของลำตัว เปลี่ยนเป็นเหยียดตรงและแนบชิดกับลำตัวแทน ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพในการล่าเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนที่สำคัญที่สุดคือกะโหลกศีรษะ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินของอาหารและอากาศภายในช่องปากแยกออก จากกัน ช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถหายใจได้อย่างสะดวกในขณะที่คาบ เหยื่อเอาไว้ในปาก และช่วยให้เวลาเคี้ยวและย่อยอาหารภายในปากมีความยาวนานมากกว่าเดิม ซึ่งในสายของการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในระยะแรก จะยังคงลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมไว้ 2 รูปแบบคือ การมีขนปกคลุมร่างกายและการมีต่อมน้ำนมเพื่อสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน[3]
ในปัจจุบัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่จัดอยู่ในชั้นย่อยเธอเรีย (Subclass Theria) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ออกลูกเป็นตัว ซึ่งเป็นการสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในยุคจูแรสซิก เมื่อประมาณ 150 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกกลุ่มคือชั้นย่อยโพรโทเธอเรีย (Subclass Prototheria) ที่เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในแถบทวีปออสเตรเลีย ได้แก่ แทสเมเนีย (Tasmanial) และนิวกินี (New Guinea) ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่วางไข่ มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น ๆ ที่ยังคงลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานเกือบทั้งหมด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นย่อยโพรโทเธอเรีย มีความเป็นไปได้สูงในการที่จะสืบเชื้อสายมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิด อื่น ๆ ซึ่งการแบ่งแยกเธอเรียและโพรโทเธอเรียออกจากกัน น่าจะมีมาตั้งแต่ในยุคไทรแอสซิก โดยตามหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่นักธรณีวิทยาได้ทำการศึกษาและค้นคว้า พบเพียงชิ้นส่วนกระดูกเล็ก ๆ ในช่วงระหว่างยุคจูแรสซิกและยุคครีเทเชียสเท่า นั้น สืบเนื่องมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีชีวิตอาศัยอยู่ในยุคนั้น มีขนาดและรูปร่างเล็ก ปราดเปรียวและว่องไว มีลักษณะคล้ายคลึงกับกระรอก หรืออาจจะมีขนาดเล็กกว่าเพียงเล็กน้อย มีกระดูกที่เปราะบาง แตกหักได้ง่าย ทำให้เมื่อตายไป โครงกระดูกกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ยาก
เมื่อไดโนเสาร์เริ่มสูญพันธุ์จากเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ในขณะที่เริ่มมหายุคซีโนโซอิกนั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเริ่มเพิ่มจำนวนประชากร แพร่กระจายเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเริ่มยุคสมัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้ว โดยอาจเป็นผลกระทบมาจากสถานะของสัตว์เลื้อยคลานในระบบนิเวศ (ecological niche) ที่เกิดช่องว่างลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเข้ามาแทนที่ และอาจมีเหตุผลอื่น ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความว่องไวและปราดเปรียวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม การที่สามารถปรับและรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ แม้จะอยู่ในสภาวะอากาศแบบใดก็ตาม การมีขนปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย การมีสายรกที่เป็นสายใยเชื่อมต่อระหว่างแม่และตัวอ่อน ตลอดไปจนถึงการเลี้ยงดูลูกเมื่อถือกำเนิดออกมา
เหตุผลสำคัญที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สามารถมีชีวิตอยู่รอดจากมหายุคซีโนโซอิกจนถึงปัจจุบัน คือการที่เป็นสัตว์ที่มีความฉลาดกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในยุคเทอร์เชียรี (Tertiary) หรือเมื่อประมาณ 55 - 30 ล้านปีมาแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมถือเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการจนสูงสุด และมีจำนวนชนิดมากที่สุดเช่นกัน และหลังจากนั้นจำนวนชนิดก็เริ่มลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ เริ่มมีการวิวัฒนาการและปรับเปลี่ยนรูปแบบ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 1 ล้านปีสุดท้าย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการทำลายล้างของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ลักษณะทั่วไป
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ อย่างชัดเจน มีลักษณะทั่วไปคือตลอดทั่วทั้งลำตัวมีขนปกคลุม (hair) แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด อาจมีการวิวัฒนาการของร่างกายให้มีจำนวนเส้นขนลดน้อยลง มีผิวหนังที่ปกคลุมทั่วทั้งร่างกายและมีต่อมเหงื่อ (sweat glands) ต่อมกลิ่น (scent glands) ต่อมน้ำมัน (sebaceous glands) และต่อมน้ำนม (mammary glands) มีฟันที่แข็งแรงสำหรับล่าเหยื่อและบดเคี้ยวอาหารจำนวน 2 ชุด (diphyodont) ทั้งบริเวณขากรรไกรด้านบนและขากรรไกรด้านล่าง มีฟันชุดแรกคือฟันน้ำนม (milk teeth) ที่จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ (permanent teeth) มีเปลือกตาที่สามารถเคลื่อนไหวได้ นัยน์ตา 2 ข้างสามารถกลอกไปมาเพื่อใช้สำหรับมองเห็นและป้องกันตัวเองจากศัตรู รวมทั้งมีใบหูที่อ่อนนุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด มีการวิวัฒนาการด้วยการปรับเปลี่ยนรยางค์ทั้ง 2 คู่ ให้เป็นไปตามแบบของแต่ละสายพันธุ์หรือในการดำรงชีวิต เช่นวาฬที่ แต่เดิมจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยบนบก และมีการวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนตัวเองด้วยการลดรยางค์จากเดิมที่เป็นขาคู่ หน้า ให้กลายเป็นครีบเพื่อสำหรับอาศัยในท้องทะเล จากหลักฐานโครงกระดูกของวาฬ เมื่อทำการเปรียบเทียบลักษณะของกระดูกบริเวณครีบหน้า จะเห็นว่ามีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงด้วยการลดรยางค์คู่หน้า จากเท้าหน้าให้กลายเป็นครีบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิดอาจลดรยางค์ลงหรือหายไปเลยก็มี ทั้งนี้ก็เพื่อการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ และสำหรับการดำรงชีวิต มีระบบหมุนเวียนภายในร่างกาย ที่ประกอบด้วยหัวใจที่มี 4 ห้องเช่นเดียวกับมนุษย์ มีเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะกลมแบน และเว้าทั้ง 2 ข้าง รวมทั้งไม่มีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ[4]
สามารถหายใจได้ด้วยปอดและมีกล่องเสียงสำหรับขู่คำราม เช่นแมว เสือ สิงโต เป็นต้น มีกะบังลม (diaphragm) มีลักษณะเป็นแผ่นกล้ามเนื้อทำหน้าที่กั้นระหว่างช่องอกและช่องท้อง มีระบบขับถ่ายที่ประกอบไปด้วยไตแบบเมทาเนฟรอส (metanephros) และมีท่อปัสสาวะ (ureter) ที่ทำหน้าที่เปิดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) และมีสมองที่มีการเจริญอย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะสมองในส่วนนีโอซีรีบรัม (neocerebrum) รวมทั้งมีเส้นประสาทสมองจำนวน 12 คู่[5]
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของลักษณะทั่วไปของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือ การรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ แม้สภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้พลังงานความร้อนที่เกิดจากเมทาโบลิ ซึมภายในร่างกาย (endothermic) หรืออาจจะกล่าวได้ในอีกทางหนึ่งที่ว่า อุณหภูมิร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม (homeothermic) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสัตว์เลือดอุ่น (warm-blooded)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีเพศที่แบ่งแยกชัดเจน ทำให้สามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย (dioeceous) สืบพันธุ์โดยการปฏิสนธิภายในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศเมีย ตัวอ่อนภายในท้องจะมีสายรกสำหรับยึดเกาะ (placental attachment) และเจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูก มีเยื่อห่อหุ้มตัวอ่อน (fetal membrane) และมีน้ำนมจากต่อมน้ำนม เพื่อสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน ทั้งนี้มีการยกเว้นในกรณีของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับโมโนทรีมาทา ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดเดียวเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ก่อนจะฟัก ออกมาเป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวที่โตเต็มวัย
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและนก เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน ทำให้มีโครงสร้างของร่างกายที่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างสัตว์ทั้ง 3 กลุ่ม แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เด่นชัดที่สุดคือ "มีขนปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย" แม้ว่าในบางชนิดเช่นวาฬ จะลดจำนวนของขนลงไป หรือแม้แต่เกล็ดของสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นต้นกำเนิดของขน จะยังคงหลงเหลืออยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด เช่นเกล็ดบริเวณแผ่นหางของบีเวอร์และหนู เป็นต้น
แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประสบความสำเร็จ จนมีวิวัฒนาการถึงขีดสุดคือสมองในส่วนนีโอซีรีบรัม ที่มีความเจริญเติบโตอย่างดีเยี่ยม ทำให้มีความสามารถในการปรับตัว รวมถึงพฤติกรรมการกินอยู่ อาศัยและหลับนอน ตลอดจนการเรียนรู้ ความอยากรู้อยากเห็น และมีความฉลาดมากกว่าสัตว์เลื้อยคลานมาก ทำให้ในยุคมีโซโนอิกเป็นยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครองโลกเป็นต้นมา (อันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 อันดับที่ฉลาดที่สุดในโลก 1. มนุษย์ 2. วานร 3. โลมา) แต่ยังไม่ครองโลกนานเท่าไรนัก เนื่องจากมนุษย์ถือกำเนืดมาเมื่อ 1.8 ล้านปีมานี่เอง
ลักษณะทางกายวิภาค
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีลักษณะทางกายวิภาคแตกต่างกันตามแต่ละสปีชีส์ มีขนาดร่างกายแตกต่างกันออกไป เช่นค้างคาวกิตติ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในปัจจุบัน มีปีกสำหรับบินในอากาศ น้ำหนักตัวน้อยมากเฉลี่ยประมาณ 2 กรัม ความยาวของลำตัวประมาณ 29 - 38 มิลลิเมตร แตกต่างจากช้างแอฟริกาซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะทางกายวิภาคที่แตกต่างจากค้างคาว เช่นเดียวกับวาฬที่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ ที่มีขนาดร่างกายใหญ่โต น้ำหนักตัวประมาณ 107,272 กิโลกรัม ความยาวของลำตัวประมาณ 32 เมตร โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ยังคงลักษณะเฉพาะตัว ที่สามารถอธิบายถึงพฤติกรรมการอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมได้ โดยลักษณะทางโครงสร้างทางกายภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ผิวหนัง
สัตว์ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีผิวหนังและโครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนจากเดิมมาก โดยเฉพาะผิวหนังจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ นม ผิวหนังจะเป็นตัวกลางระหว่างตัวของสัตว์ในชนิดต่าง ๆ และสภาพสิ่งแวดล้อม ที่จะเป็นตัวบ่งบอกศักยภาพของสัตว์ เช่น ผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั่วไป จะมีลักษณะที่หนากว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะประกอบไปด้วยอิพิเดอร์มิสหรือหนังกำพร้า และเดอร์มิสหรือหนังแท้โดยทั่วไปหนังแท้จะมีความหนามากกว่าหนังกำพร้า ซึ่งจะเป็นเพียงชั้นผิวหนังบาง ๆ ที่มีขนขึ้นปกคลุมเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยในการป้องกันผิวหนังไม่ให้ได้รับอันตราย แต่สำหรับในบริเวณที่มีการใช้งานและมีการสัมผัสกับสิ่งของมาก เช่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีความหนาเพิ่มมากขึ้น และมีสารเคอราทิน (keratin) สะสมอยู่ภายใต้ชั้นของผิวหนัง
ขน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะมีลักษณะเด่นเฉพาะที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ คือมีขนขึ้นปกคลุมร่างกาย แม้ว่ามนุษย์ที่จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แต่มีขนขึ้นปกคลุมตามร่างกายเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่ขนของวาฬที่มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นขนที่มีลักษณะแข็ง ๆ (bristle) ใช้สำหรับรับรู้ความรู้สึกประมาณ 3 - 4 เส้นที่บริเวณปลายจมูก ซึ่งขนนั้นเป็นลักษณะเด่นชัดที่สุดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ขนที่ขึ้นปกคลุมร่างกายเกิดจากตุ่มขน (hair follicle) ภายใต้ชั้นของหนังกำพร้า แต่จะจมลึกลงไปอยู่ภายใต้ชั้นของผิวหนังที่เป็นชั้นหนังแท้ และเจริญอย่างต่อเนื่องเซลล์ในตุ่มขน จะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เซลล์ที่เกิดก่อนหน้านี้จะถูกดันให้โผล่ขึ้นมาด้านบน และตายเนื่องจากไม่มีสารอาหารหล่อเลี้ยง จึงเหลือเพียงแค่เคอราทินที่สะสมอยู่ภายใต้ชั้นของหนังกำพร้า และอัดแน่นเช่นเดียวกับเล็บมือและเล็บเท้า สำหรับขนที่ขึ้นปกคลุมผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (pelage) มี 2 ชนิด คือ
- ขนบริเวณชั้นล่าง (under hair) จัดเป็นขนที่มีความอ่อนนุ่มและมีจำนวนมาก หนาแน่นเป็นฉนวนเพื่อปกป้องร่างกายในสัตว์น้ำ เช่นขนของแมวน้ำ นากและบีเวอร์ ซึ่งจะมีขนชั้นล่างที่ละเอียดและสั้น รวมทั้งมีปริมาณที่หนาแน่นเพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ตัวของพวกมันเปียกน้ำ
- ขนบริเวณชั้นบน (guard hair) จัดเป็นขนที่ยาวและหยาบ แข็งกระด้าง สำหรับทำหน้าที่ป้องกันชั้นผิวหนัง และเป็นขนที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงของสีเมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอยู่ใน น้ำ โดยขนบริเวณชั้นบนนี้จะเปียกลู่ไปตามน้ำ คลุมขนบริเวณชั้นล่างไว้เหมือนกับห่มผ้า เมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขึ้นจากน้ำ จะสะบัดตัวเพื่อให้ตัวแห้ง ทำให้ขนบริเวณชั้นบนตั้งขึ้นและเกือบแห้งสนิท
สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ ที่มีขนขึ้นปกคลุมร่างกายในลักษณะของขนเฟอร์ คือมีเส้นขนที่สั้น ละเอียดและมีปริมาณหนาแน่น ซึ่งมีมากมายหลากหลายชนิดในทางตอนเหนือของโลก เช่นเพียงพอนซึ่งจะมีขนสีขาวปกคลุมร่างกายในช่วงฤดูหนาว แต่จะเปลี่ยนแปลงสีขนเป็นสีดำในช่วงฤดูร้อน ซึ่งแต่เดิมนักสัตววิทยาเคย เชื่อว่าเส้นขนสีขาวนั้น บริเวณเส้นขนชั้นล่างจะช่วยให้สัตว์ที่อาศัยในแถบขั้วโลกช่วยรักษาความร้อน ภายในร่างกายเอาไว้ โดยลดการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย
ปัจจุบันนักสัตววิทยาได้ทำการค้นคว้าพบว่า ไม่ว่าขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในแถบขั้วโลกจะมีสีขาวหรือสีดำ การถ่ายเทความร้อนจากร่างกายและการถ่ายเทอากาศ มีโอกาสเกิดขึ้นได้พอ ๆ กัน ในช่วงระยะเวลาฤดูหนาว ขนสีขาวของสัตว์ในแถบขั้วโลกจะช่วยอำพรางร่างกายให้กลมกลืนกับหิมะ เป็นการป้องกันอันตรายจากสัตว์นักล่า กระต่ายในแถบทวีปอเมริกาเหนือจะ มีการผลัดขนด้วยกัน 3 ครั้งคือในช่วงฤดูร้อนจะมีขนสีเทาอมน้ำตาล ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจะมีขนสีเทา และในเมื่อเข้าใกล้ช่วงฤดูหนาวจะสลัดขนสีเทาทิ้ง กลายเป็นขนสีขาวที่ซ่อนอยู่ภายใต้ขนสีเทา
แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในแถบขั้วโลก จะมีสีขนที่ธรรมดา ไม่สดใส มีหน้าที่ในการปกป้องชั้นผิวหนังเพียงอย่างเดียว และมักมีการเปลี่ยนแปลงสีขนให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว เช่น ลายของเสือดาว ลายของเสือโคร่ง และลายบนจุดของลูกกวาง กวางพรองฮอร์นแอนทีโลป จะมีหย่อมขนสีอยู่บริเวณสองข้างของตะโพก แถบขนสีนี้เกิดจากขนยาวสีขาวที่สามารถยกตั้งขึ้นได้ โดยมีกล้ามเนื้อบริเวณตะโพกยึดอยู่ เมื่อเวลาตกใจหรือพบเห็นภัยอันตราย หย่อมขนสีนี้จะเข้มขึ้นและเป็นประกายอย่างเห็นได้ชัดเจน สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เป็นสัญญาณเตือนภัยให้แก่กวางตัวอื่น ๆ ภายในฝูง หรือกวางหางขาว จะชูขนสีขาวที่บริเวณหางและโบกไปมาคล้ายธง เพื่อเป็นการเตือนภัยให้แก่กวางตัวอื่นในฝูงเช่นกัน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีการเปลี่ยนแปรสภาพเส้นขน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานต่าง ๆ กัน เช่นบริสเทิล (bristle) ของหมู แผงขนบนคอม้าและสิงโต เส้นขนรับความรู้สึกหรือไวบริซี (vibrisae) ที่อยู่บริเวณปลายจมูกของสัตว์หลายชนิด จะมีเส้นประสาทสำหรับรับรู้ความรู้สึกขนาดใหญ่ร่วมอยู่ด้วย เวลาขนสำหรับรับรู้ความรู้สึกไหวตัว จะส่งกระแสความรู้สึกไปตามเส้นประสาทไปยังสมอง สำหรับกลุ่มสัตว์หากินในเวลากลางคืนและพวกที่อาศัยในดินหรือฝังตัวอยู่ภาย ใต้พื้นดิน จะมีเส้นขนที่รับรู้ความรู้สึกที่ยาว เพื่อใช้สำหรับรับรู้ความรู้สึกในระยะไกล
ต่อม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะมีต่อมอยู่ที่บริเวณผิวหนัง ซึ่งมีความหลากหลายของต่อมมากที่สุด ต่อมนั้นจัดแยกประเภท 4 ประเภทคือต่อมเหงื่อ ต่อมกลิ่ม ต่อมน้ำมันและต่อมน้ำนม ซึ่งต่อมทั้งหมดนี้เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพมาจากกลุ่มเซลล์บริเวณชั้นผิวหนัง กำพร้า ซึ่งแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้- ต่อมเหงื่อ ต่อมเหงื่อ เป็นต่อมที่มีลักษณะเป็นท่อขด ซ่อนอยู่ภายใต้ชั้นของผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย ไม่พบต่อมเหงื่อในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ต่อมเหงื่อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแบ่งเป็น 2 ชนิดคือต่อมเอคไครน์ (ecrine glands) และต่อมอโพไครน์ (apocrine glands) ต่อมเอคไครน์นั้นจะอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ไม่ขน โดยเฉพาะบริเวณตามฝ่ามือและฝ่าเท้าของสัตว์ มีหน้าที่ในการสร้างเหงื่อที่มีลักษณะเป็นน้ำ และทำหน้าที่หลักในการปรับและควบคุมอุณภูมิของร่างกาย โดยการทำให้เย็นด้วยการระเหยน้ำ
ต่อมอโพไครน์มีมากในบริเวณอก ท่อรูหู และอวัยวะเพศ สารที่สร้างขึ้นในต่อมอโพไครน์จะมีลักษณะคล้ายกับน้ำนมสีขาว มีสีเหลืองเจือปนเล็กน้อย ซึ่งเมื่ออยู่ที่ชั้นผิวหนังจะแห้งและกลายเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ไม่มีหน้าที่ในการปรับและควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเช่นเดียวกับต่อมเอคไครน์ แต่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฎจักรในการสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และมีหน้าอื่นอีกเล็กน้อยเท่านั้น
- ต่อมกลิ่น ต่อมกลิ่นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมนั้น เกือบทุกชนิดจะมีต่อมกลิ่นเพื่อใช้สำหรับในการสื่อสารระหว่างกัน ใช้ในการจับจองถิ่นและประกาศอาณาเขต ใช้ในการเตือนหรือใช้สำหรับในการป้องกันตัวจากสัตว์นักล่า ต่อมกลิ่นนั้นจะอยู่ตามแต่ลักษณะของร่างกาย เช่นต่อมกลิ่นของกวางจะอยู่ที่บริเวณเบ้าตา ข้อเท้าและง่ามนิ้ว สำหรับกระจ้อนหรือกระถิก ต่อมกลิ่นจะอยู่ที่บริเวณหนังตาและแก้ม บีเวอร์และอูฐหลายชนิดจะมีต่อมกลิ่นที่พีนิสหรืออวัยวะเพศ สุนัขจิ้งจอก หมาป่าจะมีต่อมกลิ่นอยู่ที่บริเวณโคนหาง สกังค์ มิงค์และเพียงพอน มีต่อมกลิ่นที่แปลกกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น คืออยู่ที่บริเวณทวารหนัก และสามารถฉีดสารออกไปได้ไกลหลายฟุต เมื่อต้องการป้องกันตัวและหลบหนีจากศัตรู
- ต่อมน้ำมัน ต่อมน้ำมันจะเป็นต่อมที่อยู่ร่วมกับตุ่มขน บางต่อมจะสามารถเปิดออกที่ผิวตัวได้อย่างอิสระ เซลล์ที่บุอยู่ภายในท่อจะหลุดลอกออกในระหว่างการสร้างเซลล์ และจะมีการสร้างเสริมขึ้นมาใหม่สำหรับในการสร้างสารครั้งต่อไป เซลล์ต่อมเหล่านี้จะมีไว้สำหรับในการสะสมไขมัน และเมื่อเซลล์ที่ตายกำจัดออกมาในรูปของสารหล่อลื่นที่เรียกว่าซีบัม (sebum) และส่งผ่านไปในตุ่มขน สารนี้จะทำให้ผิวหนังมีความอ่อนนุ่มและเป็นมัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่จะมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย รวมทั้งมนุษย์ ที่จะมีต่อมน้ำมันมากที่บริเวณหนังศีรษะและใบหน้า
- ต่อมน้ำนม ต่อมน้ำนมเป็นลักษณะเด่นเฉพาะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่ไม่มีในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นและใช้เป็นชื่ออันดับของสัตว์ เกิดจากเซลล์บุผิวที่มีการขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดแนวเต้านมขึ้นที่บริเวณหน้าอกหรือหน้าท้อง ต่อมน้ำนมนั้นเป็นต่อมอโพไครน์ที่แปรสภาพมาจากต่อมเหงื่อ มาทำหน้าที่เป็นต่อมในการสร้างน้ำนมแทน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศเมียทุกชนิด จะต้องมีต่อมน้ำนมที่สามารถทำงานได้ดี สามารถผลิตน้ำนมเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูลูกอ่อน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศผู้ ต่อมน้ำนมจะไม่ทำงาน
เขา
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางสปีชี่ส์ จะมีเขางอกจากบริเวณศีรษะเพื่อใช้สำหรับต่อสู้หรือดึงดูดเพศเมียในฤดูผสม พันธุ์ เขาเป็นโครงสร้างที่ยื่นออกมาจากบริเวณส่วนหัวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่นเขาของกวางมูสหรือกวางเรนเดียร์ที่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ หรือเขาของแพะ แกะที่มีลักษณะโค้งงอไปด้านหลัง หรือเขาของกระทิงที่มีลักษณะกางออกจากบริเวณหัวทั้งสองข้าง โดยทั่วไปลักษณะต่าง ๆ ของเขาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีดังนี้
- เขาชนิดฮอร์น (horn) เขาชนิดฮอร์นจัดเป็นเขาที่มีความแข็งแรง คงทน พบได้ในสัตว์เคี้ยวเอื้องทุกประเภทเช่นแกะ แพะ วัวและควาย สามารถพบเห็นได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้ง 2 เพศ ไม่มีเฉพาะเพศผู้เท่านั้น ฮอร์นมีลักษณะเป็นเขาที่ภายในกลวง ประกอบไปด้วยปลอกนอกซึ่งเป็นปลอกแข็ง ๆ ที่เกิดจากเยื่อเคอราทินห่อหุ้มแกนกระดูกเอา ไว้ จะงอกออกมาจากกะโหลกศีรษะ ไม่มีการแตกแยกออกเป็นแขนงของเขา แต่อาจจะมีการโค้งงอหรือม้วนตัวได้ ตามปกติทั่วไปสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีเขาชนิดฮอร์น จะไม่มีการสลัดเขาทิ้ง แต่ถ้ามีการสลัดเขาทิ้งจะทิ้งเพียงเฉพาะปลอกด้านนอกแล้วสร้างปลอกขึ้นมาใหม่ กวางพรองฮอร์นแอนทีโลปจะมีการสลัดปลอกทิ้งทุกปี ภายหลังจากฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกวางชนิดนี้ และเขาของกวางตัวผู้เท่านั้นที่จะมีการแตกแขนงเป็นชั้น ๆ
- เมดูซ่า ' เขาชนิดแอนต์เลอร์จัดเป็นเขาที่เมื่อมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะมีแต่เพียงกระดูกเท่านั้น ในช่วงระหว่างการเจริญเติบโตของเขาจะมีผิวหนังที่อ่อนนุ่มและมีเส้นเลือด กระจายอยู่ทั่วบริเวณ และทำหน้าที่ห่อหุ้มกระดูกเอาไว้ เรียกว่าเวลเวต (velvet) ต่อมาเมื่อเขาชนิดแอนต์เลอร์มีการเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนฤดูการผสมพันธุ์ เส้นเลือดที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเวลเวตไว้จะเกิดการตีบตัน ทำให้เวลเวตเริ่มเกิดการฉีกขาด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีเขาชนิดแอนต์เลอร์จะใช้เขาถูกับต้นไม้ เพื่อช่วยให้การหลุดลอกของเขาเร็วยิ่งขึ้น เขาชนิดแอนต์เลอร์จะหลุดออกภายหลังจากฤดูผสมพันธุ์เสร็จสิ้น และจะมีกระปู๋เล็กเล็ก งอกขึ้นมาใหม่ในช่วงระยะเวลา 5 ปี และเจริญงอกขึ้นมาเป็นเขาใหม่ และจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ รวมทั้งมีความสวยงามเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
การสืบสายพันธุ์
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะมีการปฏิสนธิภายในและออกลูกเป็นตัว แต่ยกเว้นโมโนทรีมเท่านั้น ที่มีการวางไข่และฟักเป็นตัว เอมบริโอจะมีถุงน้ำคร่ำห่อหุ้ม และเมื่อครบกำหนดการตั้งท้องและคลอดออกมา จะมีน้ำนมจากแม่ในการเลี้ยงดูจนโตเต็มวัย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับมาร์ซูเปียเลีย จะมีถุงหน้าท้องและ มีระยะเวลาในการตั้งท้องที่สั้นมาก ลูกที่คลอดออกมาจะยังเป็นเอมบริโอที่ไม่สมบูรณ์ เอมบริโอจะคลานเข้าไปอาศัยอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่ และเกาะอยู่กับหัวนมของแม่ ซึ่งพัฒนาการของเอมบริโอภายในถุงหน้าท้องของแม่นั้น จะต้องอาศัยอยู่ในถุงหน้าท้องเป็นเวลานาน สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีสายรก เอมบริโอจะฝังตัวและเจริญเติบโตภายในมดลูก และได้รับสารอาหารจากแม่ผ่านทางสายรกที่เชื่อมระหว่างเอมบริโอกับแม่[12]
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ จะมีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูหนาว ซึ่งจะเป็นช่วงระยะเวลาที่ดีที่สุดในรอบปี สำหรับที่จะเลี้ยงดูลูกอ่อนที่คลอดออกมา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศผู้ส่วนใหญ่ จะจับคู่ได้ตลอดเวลา ต่างจากเพศเมียที่หาระยะเวลาที่แน่นอนในแต่ละรอบ ที่จะให้เพศผู้ผสมพันธุ์ด้วยไม่ได้ ซึ่งเรียกว่าวัฎจักรเอสทรัส (estrus cycle) ซึ่งเป็นเพียงวัฎจักรสั้น ๆ เท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อยู่ในวัฎจักรเอสทรัลนี้ จะมีอาการที่เรียกกันว่า "การติดสัด" (estrus) โดยวงจรเอสทรัส จะแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเพศเมีย ได้แก่รังไข่ มดลูกและช่องคลอด ดังนี้
- โพรเอสทรัส (proestrus) เป็นระยะเวลาของการเตรียมตัว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศเมียจะมีการเตรียมความพร้อมก่อนการผสมพันธุ์ เป็นช่วงระยะเวลาที่มีไข่เจริญขึ้นมาใหม่
- เอสทรัส (estrus) เพศเมียจะมีความพร้อมและยอมรับในการจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งจะเป็นช่วงระยะเวลาที่ไข่หลุดออกจากรังไข่ พร้อมที่จะมีการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน (fertilization) ที่ผนังของมดลูก และเกิดการตั้งครรภ์
- เมตเอสทรัส (metestrus) ถ้าในกรณีที่ไม่เกิดการปฏิสนธิ หรือไม่มีการจับคู่ผสมพันธุ์กัน จะมีการปรับระบบสืบพันธุ์ของร่างกายให้คืนสู่สภาวะปกติ
- ไดเอสทรัส (diestrus) เป็นระยะเวลาที่ต่อเน่องมาจากเมตเอสทรัส มดลูกจะเล็กลงและมีเลือดมาหล่อเลี้ยงน้อย
ระยะเวลาในการตั้งท้องภายหลังจากการผสมพันธุ์ จะแตกต่างกันตามแต่ละชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น หนูจะตั้งท้องประมาณ 21 วัน กระต่ายบ้านและกระต่ายป่า จะตั้งท้องนานประมาณ 30 - 36 วัน แมว สุนัข ประมาณ 60 วัน วัว 280 วัน และช้าง ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ใช้ระยะเวลาในการตั้งท้องยาวนานที่สุดถึง 22 เดือน
จำนวนของลูกอ่อนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะมีเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น แต่จะมีปัจจัยควบคุมปริมาณของลูกอ่อนหลายปัจจัย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมยิ่งมีขนาดร่างกายใหญ่โตเพียงใด จำนวนลูกภายในท้องก็จะยิ่งลดน้อยลงเท่านั้น และปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งคือศัตรูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในแต่ละชนิด สัตว์ฟันแทะที่มีร่างกายเล็ก จะกลายเป็นเหยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งจะมีจำนวนมากที่กลายเป็นเหยื่อ ทำให้สัตว์ฟันแทะเช่น หนู กระรอก กระต่าย กระแต มีปริมาณจำนวนลูกในแต่ละครอกที่ค่อนข้างมาก คือมีได้หลายครอก ครอกละหลายตัว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่กินเนื้อเป็นอาหาร จะมีลูกเพียงครอกเดียว ครอกละประมาณ 3 - 5 ตัวต่อปี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีขนาดใหญ่เช่นช้าง ม้า จะตั้งท้องและตกลูกเพียง 1 ตัวเท่านั้น ซึ่งช้างที่เป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด จะตกลูกช้างเฉลี่ย 4 ตัวต่อ 50 ปี[12]
ถิ่นอาศัยและการครอบครองอาณาเขต
สัตว์ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจำนวนมาก จะมีการประกาศอาณาเขตในความครอบครอง และมีการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมด้วยกันหรือสัตว์ชนิดอื่น บุกรุกเข้ามายังอาณาเขตของตน โดยเฉพาะสัตว์ชนิดเดียวกัน สัตว์ป่าจำนวนมากจะหวงอาณาเขตและไม่เป็นมิตรต่อสัตว์อื่น โดยเฉพาะเพศเดียวกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเข้าไปอาศัยในรูหรือโพรงไม้ บริเวณรูหรือโพรงจะกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาเขต และถ้าพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีวิธีการประกาศอาณาเขตของตนเองด้วยกลิ่น[13]การประกาศอาณาเขตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะใช้ต่อมกลิ่มภายในร่างกายปล่อยของเหลวที่มีกลิ่นเฉพาะตัวออกมา เพื่อให้กลิ่นนั้นติดอยู่ตามก้อนหินหรือกิ่งไม้ หรือวัตถุต่าง ๆ รอบ ๆ บริเวณอาณาเขตที่ต้องการแสดงความเป็นเจ้าของ ขนาดของอาณาเขตจะมีความผันแปรมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับขนาดของสัตว์และลักษณะนิสัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม รวมถึงการกินอาหารด้วยเช่น หมีกรีซลีจะมีอาณาเขตในครอบครองกว้างขวางมากมายหลายตารางไมล์ ในขณะเดียวกันแรคคูน ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็กกว่า จะมีพื้นที่อาณาเขตในครอบครองเพียงแค่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 กิโลเมตรเท่านั้น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ จะใช้ชีวิตภายในป่าท่ามกลางธรรมชาติ การประกาศอาณาเขตในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการแสดงความเป็นเจ้าของ จะใช้สารจากต่อมกลิ่นหรือการใช้ปัสสาวะ เช่นเสือจะ ประกาศอาณาเขตในความครอบครองของตนเองด้วยการปัสสาวะรด หรือการถ่ายอุจจาระเพื่อเป็นการทำเครื่องหมาย เมื่อมีผู้บุกรุกเข้ามาภายในอาณาเขต จะทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ได้ประกาศอาณาเขตแดนของตน มีความรู้สึกสูญเสียประโยชน์ในการครอบครอง จึงต้องมีการขับไล่ผู้บุกรุกออกไป